บ้านไม้สองชั้นสไตล์เรียบง่าย อบอุ่นทุกสัดส่วน

Akharapon T. Akharapon T.
そ~ら~の家, AMI ENVIRONMENT DESIGN/アミ環境デザイン AMI ENVIRONMENT DESIGN/アミ環境デザイン Casas asiáticas
Loading admin actions …

จากวิถีชีวิตอันสงบสุขเรียบง่ายในแบบนิกายเซน มาสู่แนวทางการออกแบบบ้านและที่อยู่อาศัยซึ่งเน้นความเรียบง่ายของบรรยากาศและการใช้สอย ทั้งยังให้ความเคารพกับธรรมชาติ ถือเป็นคอนเสปต์การออกแบบที่สำคัญของบ้านและสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่น ซึ่งข้อดีของการออกแบบโดยใช้แนวคิดดังกล่าวนี้ คือพื้นที่ใช้สอยที่คุ้มค่าและมีบรรยากาศที่อบอุ่นเรียบง่าย อันส่งผลดีต่อการอยู่อาศัยของครอบครัวซึ่งต้องการให้บ้านเป็นสถานที่แห่งความสุข อันเป็นสิ่งที่ทุกบ้านทุกครอบครัวต้องการ

บ้านหลังนี้เป็นบ้านไม้สองชั้นพร้อมพื้นที่ใต้หลังคา ได้ถูกออกแบบโดยสถาปนิก AMI ENVIRONMENT DESIGN จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแน่นอนว่าคอนเสปต์ที่ใช้คือบ้านสไตล์ญี่ปุ่นผสมผสาน ที่มีการเน้นความเรียบง่ายของรูปทรงและบรรยากาศอันเป็นมิตรต่องครอบครัวและธรรมชาติ ดังนั้นจึงเป็นการดีที่เราจะมาสำรวจลักษณะการออกแบบพื้นที่ภายในบ้านหลังนี้ เพื่อที่จะได้นำแนวคิดมาปรับใช้กับบ้านของเราได้ ลองไปชมกันเลยว่าบ้านหลังนี้จะมีลักษณะอย่างไรกันบ้าง

รูปทรงบ้านอันเรียบง่ายเป็นที่คุ้นเคย

ในบางครั้งบางทีเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องการความแปลกใหม่หวือหวาในรูปทรงของบ้านมากมายเท่าไหร่นัก บ้านหลังนี้คือตัวอย่างที่ดีของงานออกแบบที่อยู่อาศัยในรูปลักษณ์ที่เรียบง่ายแต่มีความดูดีและสื่อให้เห็นได้ชัดเจนถึงการใช้สอยที่มีคุณภาพ ตัวบ้านสองชั้นซึ่งมีพื้นที่ชั้นล่างเป็นพื้นที่ส่วนกลางและชั้นบนเป็นส่วนของห้องนอน หน้าบ้านเป็นพื้นที่ใช้สอยเปิดโล่งที่สามารถใช้งานได้ด้วยขนาดที่กว้างขวางและรับกับบรรยากาศภายนอกบ้าน

มุมมองจากบริเวณด้านข้างของบ้าน

ตัวบ้านจากที่ได้เห็นไปแล้วในภาพรวมคือเป็นบ้านสองชั้นซึ่งมีวัสดุและการใช้โครงสร้างเป็นไม้ในเกือบทั้งหลัง บางส่วนจะเห็นได้ว่ามีการผสมผสานวัสดุเข้าด้วยกันอย่างเช่นผนังภายนอกของบ้านส่วนชั้นบนและชั้นล่างที่ต่างกันในภาพนี้ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกเป็นบ้านแบบชนบทเรียบง่ายที่ดูย้อนสมัยอยู่หน่อยๆ ทั้งนี้ก็ยังคงความเข้ากันด้วยโทนสีทำให้ไม่ไดูขัดแย้งกันมากนัก

พื้นที่สำหรับพักกผ่อนกายใจในทุกวัน

แค่เพียงมองจากภาพมุมมองพื้นที่ส่วนหน้าบ้านก็รู้สึกได้ถึงบรรยากาศบ้านที่โปร่งโล่งสบาย พื้นที่ส่วนนี้เป็นส่วนของระเบียงที่เชื่อมพื้นที่นอกบ้านกับพื้นที่ในบ้าน เป็นพื้นที่ที่สามารเป็นทั้งระเบียงต้อนรับแขกหรือเป็ฯทั้งที่นั่งพักผ่อนกินดื่มในวันที่บรรยากาศดีๆได้ สังเกตการใช้วัสดุที่ยังคงเน้นการใช้ไม้และการออกแบบม้านั่งไม้ในรูปลักษณ์ที่เรียบง่ายดูเป็นบ้านพื้นถิ่นและมีบรรยากาศที่เป็นกันเอง

คุณภาพของแสงและพื้นที่ในบ้าน

ตัวพื้นที่ภายในบ้านมีการตกแต่งภายในแบบผสมผสานความเอเชียและความโมเดิร์น ซึ่งยังคงเน้นการใช้วัสดุไม้เป็นวัสดุหลักทั้งส่วนของพื้น เพดาน รวมไปถึงส่วนของเฟอร์นิเจอร์ ทำให้บรรยากาศมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และมีความอบอุ่นที่แผ่กระจายออกมา ทั้งยังได้ช่องเปิดขนาดใหญ่ที่ให้แสงธรรมชาติส่องผ่านเข้ามา ทำให้พื้นที่ใช้สอยมีคุณภาพดียิ่งขึ้น

ช่องเปิดที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

เนื่องด้วยเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ที่ซึ่งมีวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ประจำชาติมากมาย ในด้านสถาปัตยกรรมบ้านญี่ปุ่นนั้น เราคงคุ้นเคยกับหน้าต่างหรือประตูไม้แบบบานเลื่อนและมีกระดาษเป็นวัสดุที่ช่วยกรองแสงและสายตาได้เป็นอย่างดี บ้านหลังนี้เองก็ยังคงเก็บรักษาลักษณะเด่นของการออกแบบและนำมาใช้กับประตูบานเลื่อนส่วนหน้าบ้านนี้ ซึ่งถึงแม้จะถูกปิดสนิทแต่แสงธรรมชาติจากภายนอกก็ยังส่องผ่านเข้ามาถึงได้ในปริมาณที่พอดิบพอดี

การออกแบบบันไดที่โดดเด่น

ส่วนนี้คือส่วนของบันไดซึ่งจะเชื่อมไปยังพื้นที่ใต้หลังคา โดยอิงการออกแบบตามสไตล์บ้านชนบทญี่ปุ่นที่เน้นบันไดโปร่งๆเหมาะกับพื้นที่บ้านที่มีจำกัด สังเกตการออกแบบช่องเปิดซึ่งมีทั้งช่องเปิดหน้าต่างที่อยู่บนผนังและช่องเปิดที่อยู่บนหลังคา ซึ่งให้แสงและเงาที่ตกกระทบมายังพืนที่ในบ้าน ถือเป็นอีกหนึ่งความงามที่พบเห็นได้ในบ้านหลังนี้

ห้องใต้หลังคา

พื้นที่ห้องใต้หลังคาได้มีการจัดสรรปันส่วนไว้สำหรับการใช้สอยอย่างคุ้มค่า โดยมีทั้งส่วที่ถูกกั้นเป็นห้องแยกและเป็นพื้นที่โดยรอบซึ่งการใช้งานนั้นสามารถเป็นได้ทั้งห้องพักผ่อนส่วนตัว หรือเป็นห้องทำงาน และเป็นทั้งพื้นที่เก็บของใช้ต่างๆได้ ซึ่งการออกแบบพื้นที่ส่วนนี้จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญช่างมุงหลังคาในการดูแลเรื่องของการป้องกันความร้อนจากหลังคาเป็นพิเศษ

อ่างอาบน้ำกึ่งเปิดโล่ง

บริเวณอ่างอาบน้ำซึ่งมีการออกแบบให้เป็นพื้นที่แบบกึ่งเปิดโล่งซึ่งมีบรรยากาศเชื่อมกับธรรมชาติภายนอก โดยอยู่ภายในพื้นที่ปิดล้อมแต่เปิดโล่งจากด้านบนเพื่อรับแสงและลมได้ รวมถึงยังช่วยเรื่องการระบายกลิ่นและความชื้นได้เป็นอย่างดี ด้วยการออกแบบตัวอ่างที่ตั้งอยู่บนท็อปพื้นหินอ่อนสีดำซึ่งให้สีที่ตัดกันกับสีของไม้ ทำให้บรรยากาศมีความโดดเด่นและให้ความรู้สึกเหมือนเป็นบ่อน้ำร้อนกลางธรรมชาติ

คุณภาพของแสงและงานภูมิทัศน์ขนาดย่อม

ถือได้ว่าพื้นที่ห้องน้ำนี้คือไฮไลท์ของบ้านหลังนี้อย่างแท้จริง ด้วยการออกแบบให้เชื่อมกับบรรยากาศภายนอกและยังมีสวนขนาดเล็กตามสไตล์ญี่ปุ่นซึ่งให้ความสำคัญกับธรรมชาติ ก็ยิ่งทำให้การใช้งานพื้นที่เป็นไปอย่างมีความสุขและไม่ว่าใครก็หลงรักแนวทางการออกแบบนี้อย่างแน่นอน

ใส่ใจในความเป็นส่วนตัว

และถึงแม้จะเป็นพื้นที่แบบกึ่งเปิดโล่ง สถาปนิกยังคงใส่ใจถึงความต้องการของเจ้าบ้านที่อาจจะอยากได้รับความเป็นส่วนตัวมากขึ้นหน่อย โดยการออกแบบเป็นฉากกั้นซึ่งสามารถเลื่อนลงมาปิดล้อมพื้นที่อ่างอาบน้ำ ซึ่งยังคงออกแบบให้มองเห็นยังพื้นที่ภายนอกได้อยู่ ทั้งนี้นอกจากเรื่องของความเป็นส่วนตัวแล้วยังเป็นผลดีกับความปลอดภัย เนื่องด้วยการเป็นพื้นที่เปิดนั้นอาจทำให้เกิดเหตุโจรกรรมขึ้นได้ง่าย

Precisa de ajuda para projetar a sua casa?
Entre em contato!

Destaques da nossa revista